วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การทำงาน Google Cardboard



          แอพพลิเคชั่นที่ชื่อ Cardboard ลงในสมาร์ทโฟน ที่ทำออกมาเพื่อใช้กับ Google Cardboard โดยเฉพาะ 

ข้อจำกัดสำคัญของ Google Cardboard และแว่น VR 

การใช้งานกับผู้ที่มีปัญหาด้านสายตา เช่น สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง ซึ่งปกติการใส่แว่นก็จะช่วยได้ แต่พอมาใส่แว่น VR แล้ว มันใส่แว่นสายตาไม่ได้ ถ้าใครไม่ได้ใส่คอนแท็กเลนส์ก็อาจจะได้ประสบการณ์ไม่ดีเท่าไหร่ ถ้าเป็นพวกต้นทุนต่ำแบบ Google Cardboard  มันปรับโฟกัสของภาพไม่ได้ ก็จะลำบากเลย  แต่พวกต้นทุนสูงหน่อย อย่าง Galaxy Gear VR นั้น มันมีตัวปรับโฟกัสช่วย แต่มันก็ไม่ช่วยสำหรับคนสายตาเอียงอยู่ดี
ความเมื่อยล้าทางสายตา มันค่อนข้างเป็นภาระกับสายตาของผู้ใช้งานไม่น้อยเลย แต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป การใช้งานติดต่อกันซัก 2-3 ชั่วโมงไม่ค่อยจะเป็นปัญหาเท่าไหร่ แต่ถ้าไปดูพวกจอ 3-D แบบ Parallax Barrier (ลองนึกถึง LG Optimus 3D, Optimus 3D MAX หรือ HTC EVO 3D ดู) แล้วปวดตา หรือเล่นเกมแนว First-person Shooting แล้วเวียนหัว จะมีปัญหากับการใช้แว่น VR แบบนี้ได้ง่าย  ตรงนี้จะเป็นอุปสรรคหลักที่จะทำให้คนไม่มาโอบอุ้มเทคโนโลยี VR ซักเท่าไหร่
แบตเตอรี่ของอุปกรณ์ เนื่องจากหลักการของการแสดงผลคือการแบ่งหน้าจอสมาร์ทโฟนออกเป็น 2 ส่วน ประมวลผลแยกซ้ายขวา ดังนั้นมันจึงต้องการสเปกฮาร์ดแวร์ระดับหนึ่ง เพราะต้องการความสามารถในการประมวลผลพอสมควรเลย โดยเฉพาะหากจะแสดงผลออกมาเป็นแบบ 3D แล้วไหนจะต้องใช้งานเซ็นเซอร์ทั้ง Accelerometer, Gyroscope และเซ็นเซอร์แม่เหล็กอีก  แน่นอนว่าเรื่องประสิทธิภาพไม่น่าจะเป็นปัญหา เพราะเมื่อเวลาผ่านไป อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงขึ้น ราคาก็ถูกลงอีก แต่อุปสรรคหลักก็คือ แบตเตอรี่ เพราะประมวลผลเยอะๆ เซ็นเซอร์อีกเพียบ เท่ากับกินแบตเตอรี่ จากที่ทดสอบกับ LG Nexus 5 พบว่า แค่ใช้งานไม่ถึงชั่วโมง แบตเตอรี่ก็ลดไปร่วม 40% แล้ว ซึ่งประเด็นเรื่องนี้ จะเป็นอุปสรรคหลักสำหรับผู้ที่จะใช้เทคโนโลยี VR 
Use Google Cardboard For The Best (And Cheapest) 3D Experience

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น